วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดด้าน Kaizen Improvement ในขบวนการผลิต

บทความที่ 3 : การค้นหาปัญหาในขบวนการผลิต 2 

    นอกเหนือจากการค้นหาปัญหาโดยการใช้ข้อมูลจากกราฟ เรายังมีอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ผลมากๆ นั่นก็คือ ใช้หลักการภูเขาน้ำแข็ง ดังรูปด้านล่าง 


รูปที่ 8

    จะเห็นว่า สมมุติปัญหาคือก้อนน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ และพนักงานระดับ Mgr. หรือ Engineer คือนก ก็จะมองเห็นปัญหาแค่ยอดของน้ำแข็งเล็กๆ เท่านั้น ส่วนปลาและพวกแพลงตอนหรือแมลงเล็กๆ ก็คือหัวหน้างานใน Line การผลิตและพนักงานที่ทำงานประจำในแต่ละขบวนการผลิต แล้วทำอย่างไรหล่ะ ที่หัวหน้างานระดับ Mg. หรือ Engineer จะรับรู้ถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ ไม่ยากครับ ก็ให้ใช้หลักการสอบถามพนักงาน (Hearing Operator) สิครับ เพราะเขาอยู่หน้างานตลอดเวลา ดังนั้น เขาก็จะรู้ถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ได้มากกว่า ดังเช่นพวกปลาที่มองเห็นก้อนน้ำแข็งก้อนใหญ่ที่จมอยู่ในน้ำนั่นเอง แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่ 2 ข้อดังนี้นะครับ 

   1) ให้รีบดำเนินการกับปัญหานั้นๆ ทันทีที่ได้รับการแจ้งจากพนักงาน หากทำได้
    2) หากยังทำไม่ได้ หรือต้องใช้เวลานานในการ Action ก็ให้รีบชี้แจงพนักงานไป ว่าทำไม่ได้ หรือต้องใช้เวลาประมาณนั้น     ประมาณนี้ในการ Action พร้อมทั้งบอกเหตุผลให้พนักงานเข้าใจ ไม่เช่นนั้น หากไม่มีการแจ้ง หรือเงียบไปเฉยๆ ต่อไปเขาก็จะเบื่อหน่าย และไม่มีการรายงานปัญหาให้เราฟังอีกเลย 

   ครับ สำหรับการค้นหาปัญหาแบบนี้ คงจะเข้าใจกันแล้วนะครับ และถ้าจะให้ดี ให้จัดทำเป็น List และกำหนดแผนออกมาเลยครับ เพื่อที่ว่าพนักงานจะได้เข้าใจและดีใจ ว่าตนเองก็มีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขปัญหานี้ด้วยเช่นกัน 

    ต่อไป เราจะมาทำความเข้าใจกับคำ 3 คำ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นครับ และมีความสำคัญอย่างมากต่อการค้นหาปัญหา เพื่อการปรับปรุงครับ 

    1) Mieruka (มิเอรูกะ) คือการทำให้มองเห็นง่ายๆ 



รูปที่ 9

      สมมุติเรามีข้อมูลที่เยอะแยะมากมาย แต่อยู่ในรูปแบบของตาราง คิดว่าเราจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของเราได้ง่ายหรือเปล่าครับ ไม่ง่ายเลยครับ ดังนั้น การที่จะทำข้อมูลให้เห็นง่ายๆ เราก็ต้องแปลงข้อมูลในตารางให้ไปเป็นกราฟสิครับ ทีนี้เราก็จะเห็นข้อมูลง่ายขึ้นเยอะเลยใช่ไหมครับ 

    2) Kizuki (คิซูกิ) คือการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้มองเห็นปัญหา 



รูปที่ 10 

      จากข้อ 1) ถ้าเรามีแต่กราฟ แต่ไม่มีเส้นเป้าหมายเลย ก็ไม่ต่างจากข้อมูลลอยๆ เท่านั้น ซึ่งเราก็จะไม่สามารถมองเห็นปัญหาได้ (จากบทความที่ 2 ปัญหาก็คือช่องว่าง (Gap) ระหว่างเป้าหมายกับข้อมูลจริง (Actual) ครับ) ดังนั้น เราจึงต้องกำหนดเป้าหมายครับ ซึ่งวิธีการกำหนดเป้าหมาย ก็จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบดังนี้ครับ
     a) เป้าหมายที่คิดว่าสามารถทำได้ไม่ยาก (ไม่แนะนำครับ)
      b) เป้าหมายโดยดูจากข้อมูลของเดือนเก่าๆ ที่เคยทำได้ดีที่สุด (แนะนำครับ)
      C) เป้าหมายที่ท้าทาย หมายความว่า ถ้าเราหาค่าเฉลี่ยซักหลายๆ เดือน ได้เท่าไหร่ ก็ตั้งไปเลยว่า เป้าหมายคือ ค่าเฉลี่ย-50% หรือมากว่านี้ก็ได้ครับ (แนะนำครับ ถ้าใจถึงพอ) 

      อ้อ และอีกอย่าง การตั้งเป้าหมายที่ดี ควรตั้งเป็นแบบลดลงหรือเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบรรไดในแต่ละช่วงนะครับ ไม่ควรตั้งเป้าหมายเดียวแบบใช้ตลอดปีตลอดชาติครับ เดี๋ยวจะไม่เรียกว่าเป็นการปรับปรุงครับ 

    3) Kankasetsu (คังคะเซซึ) คือการรีบดำเนินการแก้ไขทันทีที่พบปัญหาครับ  
      จากข้อ 2) เมื่อเราพบปัญหาแล้ว อย่าได้นิ่งนอนใจ ให้รีบดำเนินการแก้ไขในทันทีนั่นเองครับ 

ครับ สำหรับบทความที่ 3 ก็คงจะพอแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวเรามาต่อบทความที่ 4 กัน ในวันต่อๆ ไปนะครับ สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น