บทความที่ 5 : การกระจายของข้อมูล (ซิกม่า) และความสามารถของกระบวนการผลิต (Cp, Cpk)
ซิกม่า (Sn) = ค่าการกระจายของข้อมูล จะต้องน้อยๆ
Cp, Cpk = ค่าความสามารถของกระบวนการผลิต จะต้องมีค่าอย่างน้อย 1.3 ขึ้นไป
รูปที่ 12
ซึ่งในบทความนี้ ผมจะขอกล่าวถึงค่าการกระจายของข้อมูลและค่าความสามารถของกระบวนการผลิต ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ Process Engineer หรือ Production Engineer ที่จะต้องไม่มองแค่ NG% อย่างเดียวเท่านั้น อันนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้างานฝ่ายผลิตไปครับ แล้วเหตุผลคืออะไรครับ เดี๋ยวเราลองมาดูกัน ตามเนื้อหาด้านล่างครับ
รูปที่ 13
จากรูปที่ 13 กราฟบน จะเห็นว่า ค่าการกระจายของข้อมูลจะแคบ ซึ่งจะทำให้ได้ค่า Cp, Cpk ที่สูงครับ และในส่วนของค่าที่ NG ก็แยกตัวออกอย่างชัดเจน จาก LL (Lower limit) และ UL (Upper limit) ซึ่งเป็นย่านควบคุมนั่นเองครับ ซึ่งลักษณะแบบนี้ ผมขอเรียกว่า ข้อมูลแบบ Digital นะครับ
ส่วนกราฟอันกลาง จะเห็นว่า ค่าการกระจายของข้อมูล ก็ยังพอรับได้อยู่ แต่ว่าค่าเฉลี่ยหรือยอดของภูเขา จะค่อนไปทางใดทางหนึ่ง ทำให้ข้อมูลที่ OK และ NG กล้ำกึ่งกันอยู่ หรือข้อมูลที่ OK จะหลุดไปเป็น NG ซะเยอะ ทำให้เป็นที่น่าเสียดายครับ ซึ่งลักษณะแบบนี้ ผมขอเรียกว่า ข้อมูลแบบ Analog นะครับ
ส่วนกราฟด้านล่าง จะเห็นว่า มีการกระจายของข้อมูลที่มาก (ภูเขาลูกใหญ่ฐานกว้าง) ซึ่งแน่นอน จะทำให้ได้ค่า Cp,Cpk ที่ต่ำครับ และยังมีข้อมูลที่กล้ำกึ่งกันระหว่าง OK และ NG ทั้ง 2 ด้าน ซึ่งลักษณะแบบนี้ ผมก็จะขอเรียกว่า ข้อมูลแบบ Analog เช่นกันครับ
รูปที่ 14
จากกราฟด้านบน จะถือว่าเป็นแบบที่ดีมาก ส่วนกราฟอันกลาง จะต้องปรับในส่วนของ Cpk โดยให้ค่าเฉลี่ยเข้าใกล้ค่ากลางมากที่สุด ส่วนกราฟล่าง แน่นอน ต้องปรับในส่วนของ Sn ให้แคบลง (ค่าการกระจายข้อมูลแคบลง) ครับ ต่อไปเรามาดูกันว่า ทำไมในส่วนของ Process Engineer หรือ Production Engineer จะต้องไม่สนใจเฉพาะแค่ค่า NG% อย่างเดียวเท่านั้น มาดูกันเลยครับ
รูปที่ 15
สมมุติว่า เรามีค่า NG% เท่ากับ 7% แต่ว่าเราไม่เห็นค่าการกระจายของข้อมูลเลย เราก็อาจะทำการปรับปรุงแก้ไขไม่ได้หรือไม่ถูกจุด ดังนั้น จากราฟด้านบนทั้ง 3 กราฟ ก็จะให้ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ทิศทางที่เราจะต้องปรับปรุง จะต้องเป็นแบบใด ถ้า
A+B = 7%
C = 7%
D+E = 7%
เห็นแล้วใช่ไหมครับว่า ในส่วนของ Process Engineer หรือ Production Engineer จะต้องใส่ใจกับค่าการกระจายของข้อมูลเป็นพิเศษ เมื่อต้องการที่จะวิเคราะห์หรือปรับปรุง ในเรื่องของงาน NG ที่เิกิดขึ้นครับ แล้วถ้าภูเขาที่เราได้ ไม่ใช่ลูกเดียวอย่างกราฟด้านบนที่ผมนำเสนอหล่ะ เราจะทำอย่างไร มาดูตัวอย่างกันเลยครับ
รูปที่ 16
จากกราฟด้านบน จะแสดงให้เห็นว่า การควบคุมขบวนการผลิตของเราไม่ดี ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะเกิดภูเขาขึ้น 2 ลูก ซึ่งเราจะต้องแก้ไขในส่วนของภูเขาลูกเล็กให้ได้ก่อนทั้ง 2 แบบครับ
ในฐานะของ Process Engineer หรือ Production Engineer จะมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานของการตัดสินให้พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นค่ามาตรฐานของชิ้นงาน หรือตัวอย่างชิ้นงาน OK กับ NG (Marginal Sample) เพื่อเอาไว้ให้พนักงาน สำหรับการเปรียบเทียบและตัดสินใจ ในขั้นตอนการตรวจสอบ ซึ่งก็อาจจะยากพอสมควรสำหรับ Engineer ก็เนื่องมาจาก มันจะมีทั้งแบบ Analog และ Digital ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเองครับ ซึ่งก็จะเหมือนกับรูปด้านล่างที่ผมนำเสนอครับ
รูปที่ 17
ลักษณะของ Digital คือช่วง Black และ White ครับ จะง่ายสำหรับพนักงานที่จะตัดสิน แต่ที่ยากก็คือ ในช่วงของ Gray zone นั่นเองครับ เพราะมันเป็นลักษณะของ Analog คือมันจะกล้ำกึ่งกันระหว่าง OK กับ NG และพนักงานก็จะตัดสินใจลำบาก บางครั้งก็เป็นดาบ 2 คม คือ ในเมื่อไม่กล้าตัดสินใจ ก็ทิ้งเป็นงาน NG ทั้งหมด ให้รอดตัวไปก่อน แบบนี้งาน NG ของเราก็จะเยอะ ทั้งๆ ที่มันไม่สมควร หรืออีกแบบ อาจจะตัดสินผิดพลาด ทำให้งาน NG หลุดปนไปกับงาน OK แบบนี้ก็มีโอกาศที่ลูกค้าจะเจอ และร้องเรียนกลับมายังเราได้ครับ
ดังนั้น ในฐานะของ Engineer ก็จะต้องทำให้พนักงานมีความสะดวก และตัดสินใจได้ง่าย ซึ่งก็ลองค้นหาวิธีและแนวทางดูกันเอาเองนะครับ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละผลิตภัณฑ์และความสามารถของ Engineer แต่ละท่านครับ
โอเคครับ สำหรับบทความนี้ ผมก็คงจะต้องขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วเดี๋ยวบทความต่อๆ ไป ค่อยมาว่ากันวันหลังนะครับ สำหรับวันนี้ ขอกล่าวคำว่า สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น