วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดด้าน Kaizen Improvement ในขบวนการผลิต

บทความที่ 4 : ชนิดของปัญหาและแนวคิดในการหาสาเหตุของปัญหา

    ชนิดของปัญหาในส่วนของผมจะแบ่งเป็น 4 ประเภท (A,B,C,D) ตามความยากง่ายดังนี้นะครับ 

รูปที่ 11

1) ปัญหาที่แก้ไขง่าย (C) => คือปัญหาที่แก้ไขได้ง่าย โดยใช้ประสพการณ์, ความรู้ที่มี, หลักการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี เช่น การควบคุมอุณหภูมิ เราก็สามารถใช้ Thermometer, Temperature controller, Thermocouple ในการควบคุมและอ่านค่าเป็นต้น 

2) ปัญหาที่ต้องใช้เทคนิคระดับสูงในการแก้ไขปัญหา (B) => คือปัญหาที่เรารู้สาเหตุ แต่ไม่สามารถทำการแก้ไขได้ หรือแก้ไขยาก
ตัวอย่างเช่น : ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่ำ เนื่องมาจากระดับความสะอาดของกระบวนการผลิตไม่ดี หรือสกปรก เช่น มีฝุ่นเข้าไปปะปนในตัวชิ้นงาน ซึ่งฝุ่นก็มาจากหลายที่และควบคุมยาก ดังนั้นการแก้ไขปัญหาก็อาจจะต้องใช้เงินลงทุนที่สูง โดยการซื้อเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ที่มีเทคโนโลยีทางวิศวกรรมค่อนข้างสูง หรือการจัดสร้างพื้นที่การปฏิบัติงานใหม่ ให้เป็นห้อง Clean room เป็นต้น 

3) ปัญหาที่ต้องเฝ้าจับตามมองเป็นพิเศษบ่อยๆ เพื่อแก้ปัญหา (D) => คือปัญหาที่ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง แต่การแก้ไขบางอย่าง ก็อาจจะทำให้ดีขึ้น ซึ่งปัญหานี้ก็อาจจะกลับมาเป็นอีก 

4) ปัญหาที่แก้ไขยากจริงๆ (A) => คือปัญหาที่ไม่รู้ทั้งสาเหตุและวิธีการแก้ไข ซึ่งจำเป็นที่จะต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้

ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว ในเบื้องต้น เราควรจะทำอย่างไร?
เราควรใช้หลักการ 3 GEN ของญี่ปุ่น ดังข้างล่าง 

1. Genba => คือการรีบเข้าไปดูในสถานที่จริงๆ ด้วยตนเองให้เห็นกับตา
2. Genbutsu => คือการเข้าไปดูชิ้นงานนั้นจริงๆ
3. Genjiten => คือการเข้าไปดู ณ. เวลาที่เกิดเหตุจริงๆ

    ซึ่งในส่วนของผู้ที่เป็น Engineer จะต้องใช้แนวคิดแบบ Logical thinking ในการหาสาเหตุของปัญหา ไม่ควรจะมีอคติกับสิ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ ไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะไม่ได้สาเหตุที่แท้จริง จะขอยกตัวอย่างแนวคิดแบบ Logical thinking ดังข้างล่างนี้ 

ยกตัวอย่างเช่น
เราต้องการคำนวนผลลัพธ์ให้ได้เท่ากับ 2 เราจะต้องทำอย่างไร ซึ่งก็มีหลายแบบให้เราเลือกดังนี้
1. 1+1 = 2
2. 3-1 = 2
3. 2x1 = 2
4. 4/2 = 2
5. 4-2 = 2
...
...
   แต่ว่า แบบใหนจะเป็นแบบที่ใช่ที่สุดจริงๆ ถึงตรงนี้ เราก็คงต้องทำการพิสูจน์ เพื่อหาผลลัพธ์หรือสาเหตุที่ถูกต้องที่สุดจริงๆ อีกที ก็ไม่ต่างจาการใช้ผังก้างปลาหรือ Tree diagram หรืออื่นๆ ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ซึ่งจำนวนของก้าง จะต้องมีไม่น้อยกว่า 30 ก้างต่อปลา 1 ตัว แต่ให้เราคัดที่เราคิดว่าใช่ในเบื้องต้นมาก่อนซัก 4 ถึง 5 ก้าง เพื่อมาทำการทดสอบสมมุติฐานหรือพิสูจน์ (Test of Hypothesis or Re-Occurrence test) กันก่อน ว่าใช่สาเหตุจริงๆ ของปัญหาหรือไม่ครับ

    นอกจาก Logical thinking ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ปัญหาบางปัญหา เราอาจจะใช้หลักการคิดและหา Mechanism (กลไกการเกิดของปัญหา) ออกมาให้ได้ก็ได้ จากนั้นค่อยพิสูจน์ในสิ่งที่เราสงสัยกันครับ
    ซึ่งการหา Mechanism ก็ให้เราคิดจากสภาพ (Condition) ของการผลิตที่ดีที่สุด ที่ทำให้ชิ้นงานของเราออกมาสมบูรณ์ที่สุดครับ จากนั้นก็ให้คิดในแต่ละจุดว่า ถ้าอะไรบ้างที่เปลี่ยนสภาพไป จะทำให้ชิ้นงานของเราเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็จะสามารถหาสาเหตุและแก้ไขได้ตรงจุดเช่นเดียวกันครับ 

    แต่ว่าผู้คิดคือ Engineer จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคนิคทางด้านวิศกรรมด้วยเช่นกัน ถึงจะสามารถมอง Mechanism ออกได้

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น 
   ขนมกล้วยทอดของเรา เมื่อก่อนเคยขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และลูกค้าทุกคนก็บอกว่าเป็นกล้วยทอดที่อร่อยมาก แต่ปัจจุบัน กลับขายไม่ได้เลย และลูกค้าก็บ่นว่า ไม่เห็นอร่อยเหมือนเมื่อก่อนเลย ดังนั้น เราก็ต้องมาวิเคราะห์ Mechanism กันดังต่อไปนี้ 
   เมื่อก่อนเราใช้ Condition ในการทอดกล้วยดังนี้ (เป็นการยกตัวอย่างนะครับ เพราะผมก็ไม่เคยทำ ก็เลยลองจินตนาการเอาครับ)

1. เราใช้กล้วยน้ำว้าดิบ
2. เราใช้น้ำมันถั่วเหลืองใหม่ๆ
3. เราใช้แป้งยี่ห้อ A
4. เราใช้แป้ง 1 กิโลกรัมต่อเนื้อกล้วย 3 กิโลกรัม
5. เราใช้น้ำตาลปิ๊ปยี่ห้อ B
6. เราใช้น้ำตาล ½ กิโลกรัมต่อสัดส่วนด้านบน
7. เราใช้เกลือผสมกับน้ำตาลในอัตราส่วน 100 : 1
8. เราเฉือนกล้วยบางประมาณ 5 มม.
9. เราใช้อุณหภูมิในการทอดประมาณ 120 บวกลบ 10 องศา
10. เราใช้เวลาในการทอดต่อ1 ครั้ง ประมาณ 3 นาที
11. เราใส่กล้วยลงกระทะเพื่อทอด 10 ชิ่นต่อ 1 ครั้ง
12. เรากระจายกล้วยในถาดไม่ให้กองทับถมกัน
13. Minimum stock ในการทอดแต่ละ 1 ครั้ง คือ 1 ถาดเต็ม
14. เราขายให้ลูกค้าแบบ first in first out

   ต่อไป...คิดไม่ออกครับ ขอเอาประมาณนี้ก็แล้วกันนะครับ ซึ่งตามสูตรด้านบน จะเป็นสูตรที่ทำให้เราขายกล้วยดีที่สุด และได้รับคำชมจากลูกค้าว่าอร่อยที่สุด ดังนั้นต่อไป ก็ง่ายๆ ครับ เราก็มาไล่ทีละหัวข้อ ว่า Condition ไหนบ้างที่เปลี่ยนไป จนทำให้กล้วยทอดของเราขายไม่ดีและไม่อร่อย จากนั้น เราก็มาลองเปลี่ยนกลับคืน แล้วมาเช็คผลอีกครั้งว่า กล้วยทอดของเราขายดีขึ้นและอร่อยขึ้นหรือไม่ครับ ดังตัวอย่างการตรวจสอบพบด้านล่าง

1. เราใช้กล้วยน้ำว้าดิบ (ใช่)
2. เราใช้น้ำมันถั่วเหลืองใหม่ๆ (ไม่ใช่ เราใช้น้ำมันเก่า เพราะเราต้องการประหยัด)
3. เราใช้แป้งยี่ห้อ A (ใช่)
4. เราใช้แป้ง 1 กิโลกรัมต่อเนื้อกล้วย 3 กิโลกรัม (ใช่)
5. เราใช้น้ำตาลปิ๊ปยี่ห้อ B (ไม่ใช่ เราเปลี่ยนมาใช้ยี่ห้อ C เพราะราคาถูกกว่า)
6. เราใช้น้ำตาล ½ กิโลกรัมต่อสัดส่วนด้านบน (ใช่)
7. เราใช้เกลือผสมกับน้ำตาลในอัตราส่วน 100 : 1 (ใช่)
8. เราเฉือนกล้วยบางประมาณ 5 มม. (ไม่ใช่ เราเฉือนกล้วยบางกว่า 5 มม. เพราะเราต้องการปริมาณที่มากๆ)
9. เราใช้อุณหภูมิในการทอดประมาณ 120 บวกลบ 10 องศา (ใช่)
10. เราใช้เวลาในการทอดต่อ1 ครั้ง ประมาณ 3 นาที (ใช่)
11. เราใส่กล้วยลงกระทะเพื่อทอด 10 ชิ่นต่อ 1 ครั้ง (ไม่ใช่ เราใส่กล้วยมากกว่า 10 ชิ้น ต่อการทอด 1 ครั้ง)
12. เรากระจายกล้วยในถาดไม่ให้กองทับถมกัน (ไม่ใช่ เราทอดปริมาณมากๆ และใส่กล้วยกองทับกันในถาด)
13. Minimum stock ในการทอดแต่ละ 1 ครั้ง คือ 1 ถาดเต็ม (ใช่)
14. เราขายให้ลูกค้าแบบ first in first out (ไม่ใช่ เราขายให้ลูกค้ามั่วๆ เนื่องจากปัจจัยข้างบนที่เปลี่ยนไป)

   ดังนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่เราเปลี่ยนไป เราก็ลองเปลี่ยนกลับดูทีละตัว แล้วก็ติดตามตรวจสอบผลของการเปลี่ยนแปลงดูครับ ว่าดีขึ้นหรือไม่ แค่นี้เอง นี่แหละครับ ที่เราเรียกว่าการตรวจสอบ Mechanism

    เอาหล่ะครับ สำหรับบทความนี้ค่อนข้างจะยาวซักนิดนึง แต่ว่าในบทความหน้า ผมจะขอกล่าวถึงหน้าที่ของคนที่ทำหน้าที่เป็น Process Engineer หรือบางที่เรียกว่า Production Engineer ที่สำคัญๆ อีกอย่างหนึ่งครับ นั่นก็คือ เราจะมองแค่ NG% อย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมองถึงการกระจายของข้อมูล (ซิกม่า) รวมถึงค่าความสามารถของกระบวนการผลิต (Cp, Cpk) ด้วย แล้วทำไมต้องมอง เดี๋ยวบทความหน้าเราค่อยมาว่ากันครับ สำหรับบทความนี้ ขอกล่าวคำว่าสวัสดีก่อนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น