วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดด้าน Kaizen Improvement ในขบวนการผลิต

บทความที่ 2 : การค้นหาปัญหาในขบวนการผลิต 1

    จากบทความแรก เราก็พอจะทราบกันแล้วนะครับว่า หน้าตาของ Process diagram เป็นอย่างไร และแน่นอนครับ สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะเป็นตัววัดประสิทธิภาพของการทำ Kaizen ซึ่งก็จะส่งผลถึงผลกำไรของบริษัทโดยตรงนั่นก็คือ Output นั่นเองครับ แล้วเราจะมีวิธีการตรวจสอบ Output ของเราได้อย่างไร ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง จากนั้น เมื่อพบปัญหาแล้ว เราจะต้องดำเนินการอย่างไร เดี๋ยวเรามาว่ากันตามลำดับๆ ดังรายละเอียดด้านล่างกันเลยครับ 


รูปที่ 5

    การตรวจสอบ Output ของเรา เราก็จะตรวจสอบจากข้อมูลที่เราเฝ้ามอง และมีอยู่แล้วนั่นเองครับ เช่น กราฟ NG%,กราฟ Productivity หรือกราฟ Input/Output เป็นต้นครับ ซึ่งหากเราพบปัญหาจากราฟ ก็ให้เราย้อนกลับมาเช็คที่ Input ซึ่งก็คือ 4M+1M นั่นเอง ว่าเกิดอะไรขึ้น, อะไรที่เปลี่ยนไป จนส่งผลทำให้ Output เกิดปัญหาได้ เสร็จแล้วก็ให้ทำการ Action และย้อนกลับมาเช็คผลของ Output อีกครั้ง ว่าปัญหาหมดไปหรือยัง ถ้ายัง ก็ให้ย้อนกลับมาเช็คที่ Input ใหม่ แล้วก็ Action จากนั้นก็ย้อนกลับมาเช็คผลที่ Output อีกครั้ง ให้ทำแบบนี้ในลักษณะวนเป็นลูปของ PDCA (วัฏจักรของเดมิ่ง จะไม่ขออธิบายนะครับ) จนปัญหาที่เราพบ ได้ถูกแก้ไขให้หมดไปครับ
หมายเหตุ : ปัญหาคืออะไร เดี๋ยวจะไม่เข้าใจกันครับ ปัญหาก็คือช่องว่าง (Gap) ระหว่างเป้าหมาย (Target) และข้อมูลจริง (Actual) นั่นเองครับ
    ซึ่งลูปของ PDCA จะต้องไม่หมุนแค่รอบเดียว จะต้องหมุนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ หรือที่เราเรียกกันว่า การปรับรุงอย่างต่อเนื่อง” (Continual Improvement) นั่นเองครับ 


รูปที่ 6

    ต่อไปผมจะขอยกตัวอย่างของนักปรับปรุงที่ดีให้ดูกันซักหน่อยครับ 


รูปที่ 7

    จะเห็นว่า จากราฟด้านบนถ้ามองกันตรงๆ จะไม่พบปัญหาอะไรเลย เนื่องจากว่าข้อมูลจริงๆ ที่ได้ จะเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งถือว่าดีแล้ว และบางคนอาจจะจะหยุดการปรับปรุงอยู่เพียงแค่นี้ครับ แต่ถ้าสำหรับนักปรับปรุงที่ดี เขาอาจจะแตกกราฟจากข้อมูลเป็นวัน โดยแตกให้เป็นชั่วโมงๆ ต่อวันอีกก็ได้ครับ เพื่อมองให้เห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่อีก ดังกราฟด้านล่างครับ ซึ่งก็จะเห็นว่า ในช่วงเวลา 08.00 น. ถึง 09.00 น. มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมยอดการผลิตถึงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเกิดจากยังเช้าเกินไป พนักงานยังไม่กระตือรือร้นเท่าที่ควร เลยทำให้ยอดการผลิตในช่วงดังกล่าวก็เลยตกไป ก็อาจจะหาวิธีแก้ไข โดยให้พนักงานออกกำลังกาย ยืดเส้นยืดสายก่อนลงมือทำงานเป็นต้น ก็ได้ครับ

    ครับ สำหรับบทความที่ 2 ในวันนี้ ก็ขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวเรามาต่อบทความที่ 3 กัน ในวันต่อๆ ไปนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น